การเล่าเรื่องด้วยแสงดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในความสามารถพิเศษของคุณณัฐ ประกอบสันติสุข เพราะเขาสามารถเนรมิตและสร้างสรรค์ผลงานที่สื่อความหมายด้วยแสงและเทคนิคในการถ่ายภาพได้ดีเยี่ยม คุณณัฐได้ถ่ายภาพจากเรื่องรามเกียรติ์ ตอนภิเภกบอกให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดา แต่สิ่งที่พิเศษและเป็นเอกลักษณ์คือการใช้แสงที่มีสีตัดกันจากอารมณ์ของตัวละคร คือการใช้สีแดงเพื่อแทนความโกรธของทศกัณฐ์ ให้ตัดกับแสงสว่างจากด้านนอกเพื่อที่จะบ่งบอกว่านั่นคือแสงสว่างแห่งทางออกที่ภิเภกจะไปสวามิภักดิ์กับพระราม
ซึ่งความคิดของคุณณัฐ ในการถ่ายทอดภาพถ่ายที่ยึดหลักความเป็นจริงด้วย ซึ่งพระลักษณ์มีกายาสีทอง ซึ่งคุณณัฐเลือกใช้แสงไฟสีเหลืองสาดเข้าไป ทำให้ทุกอย่างมีสีเหลืองอมทองรวมถีงกายของพระลักษณ์ด้วย แทนที่จะทาตัวแบบให้เป็นสีทอง ถือว่านี่เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพถ่ายที่น่าทึ่งและแยบยล อีกทั้งยังเป็นการใช้แสงช่วยเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจ
นอกจากในภาพนิ่งแล้ว เราก็ยังสามารถเห็นการจัดไฟหรือการใช้แสงเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและสื่อถึงอารมณ์ได้จากหนังหลาย ๆ เรื่องอีกด้วย ดังนั้น IkonClass จะขอลองยกตัวอย่างการใช้แสงเพื่อสร้างสัญลักษณ์และเรื่องราวเพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้นดังต่อไปนี้
หนังเรื่อง Marie Antoinette ในปี 2003 ที่เลือกใช้แสงสีขาวนวล เพื่อให้รู้สึกถึงความสบายและผ่อนคลาย ใช้สีหลักเป็นสีพาสเทล ทำให้รู้สึกว่านี่คือชีวิตสุขสบายในฝันของใครหลาย ๆ คน รวมถึงการจัดฉากที่มีของว่างหรูหรารอบตัว ทำให้เราสามารถฉุกคิดได้ว่านี่คือคนที่อยู่ในที่ที่เพียบพร้อมทุกอย่าง ซึ่งก็คือพระราชวังนั่นเอง
พนันได้เลยว่าคนที่เห็นรูปภาพนี้จะสามารถตอบได้ในทันทีว่าตัวละครและฉากนี้คือสถานที่ใด และการใช้แสงไฟที่ตัดกันนี้ทำให้สื่อถึงความมึนงง มึนเมาให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดี Only God Forgives ในฉากนี้เป็นตัวอย่างของการใช้แสงเพื่อสร้างสัญลักษณ์และเรื่องราวได้เป็นอย่างน่าชื่นชมทีเดียว