เผย 5 สเตปสู่การเป็นช่างทำผม อยากเป็น Hair stylist ต้องอ่าน !

May 31 / IkonClass Staff
ในบทควมก่อนหน้า เราได้แนะนำ 8 ช่างทำผมชื่อดังของเมืองไทย ที่ทำผมให้กับคนดังมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่ในบทความนี้ เราจะมานำเสนอวิธีและเส้นทางสู่การเป็น Hair stylist ง่าย ๆ ใน 5 สเตป ใครที่อยากเป็นช่างทำผม อ่านต่อเลย !
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่
เรียนแต่งหน้ากับช่างแต่งหน้าอันดับ 1 ของประเทศไทย

Step 1 : เข้าใจหน้าที่ของ Hair stylist

Hair stylist หรือ ช่างทำผม มีหน้าที่จัดแต่งทรงผมให้เหมาะกับสถานการณ์ บุคลิก และใบหน้า ของลูกค้า การเป็น Hair stylist ก็คือการให้บริการจัดแต่งทรงผมและคำแนะนำทรงผมแบบใกล้ชิด โดยที่เราสามารถเห็น Hair stylist ได้ในบริบทต่าง ๆ ดังนี้ :
  • งานร้านประจำ : ช่างทำผมที่ประจำอยู่ตามร้านตัดผม โดยทั่วไปแล้วลูกค้าจะนำ Reference (แบบ) ที่ต้องการตัดมานำเสนอ ส่วน Hair stylist ก็ทำหน้าที่ให้คำแนะนำตามความเหมาะสม ซึ่ง Hair stylist ในร้านประจำก็จะสามารถทำได้ทั้งตัด ซอย ดัดลอน หนีบตรง ทำสีผม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน
  • งาน Freelance : Hair stylist ที่รับงาน Freelance ส่วนมากจะทำผมให้กับลูกค้าในวาระพิเศษต่าง ๆ เช่น ทำผมบัณฑิตในงานรับปริญญา ทำผมเจ้าบ่าว-เจ้าสาวสำหรับงานแต่งงาน หรือในกลุ่มลูกค้าที่เป็นดารานักแสดง พวกเขาก็จะจ้างช่างทำผมไปช่วยดูแลให้ไม่ว่าจะทำผมไปงานปาร์ตี้ ทำผมไปออกงานสังคม ทำผมไปเที่ยว ซึ่งช่างทำผมสำหรับดาราก็จะมีอีกชื่อเรียกว่าเป็น “Celebrity Hairstylist”
  • งานกองถ่าย : งานถ่ายแบบนิตยสาร ถ่ายโฆษณาทีวี ถ่ายละคร รวมไปถึงงานประกวดความงามต่าง ๆ ล้วนต้องมี Hair stylist เพื่อดูแลทรงผมของนางแบบและนักแสดง แต่ในบริบทของกองถ่าย ช่างทำผมจะไม่ได้เป็นคนออกแบบหรือเลือกทรงผม แต่จะถูกกำหนดโดย Director ที่คุมงานอีกที

แต่ละสายงานของ Hair stylist ก็จะใช้ทักษะที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่นช่างทำผมที่ประจำร้าน จะต้องมีทักษะในการตัด-ซอยผมค่อนข้างสูงรวมไปถึงทักษะอื่น ๆ อย่างเช่นการทำสีผม การดัดผม แต่ถ้าในบริบทของช่าง Freelance หรือ กองถ่าย ก็จะเน้นการจัดแต่งทรงผมให้ตรงตามคอนเซ็ปต์ของงาน จะต้องเรียนรู้การใช้อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ผมที่หลากหลาย รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น การใช้แฮร์พีชเพื่อต่อเติมผม หรือการบำรุงผมเสียในเวลาอันสั้นเป็นต้น

Step 2 : ทำความเข้าใจกับรูปทรงใบหน้า

Hair stylist ทุกคนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงของใบหน้า ว่าแต่ละรูปหน้าเหมาะกับการจัดทรงผมแบบไหนและควรเลี่ยงทรงอะไร ยกตัวอย่างเช่น สำหรับผู้หญิงที่มีรูปหน้ากลมเหมาะกับการตัดทรงที่ช่วยให้หน้าดูเรียวขึ้น เช่น บ็อบยาวแสกข้าง ผมยาวสไลด์ ผมยาวหน้าม้าปัดข้าง และให้เลี่ยงการตัดผมที่สั้นกว่าระยะคางเพราะจะทำให้ใบหน้าดูสั้นและกลมได้ หรือถ้าเป็นผู้ชายที่มีหน้ากลม สามารถตัดทรง Undercut ทรง Side swept (เซตผมปาดข้าง) ทรงหน้าม้าแสกกลาง แต่ควรเลี่ยงทรงโกนอย่าง Buzz cut เพราะจะทำให้หน้ากลมดูชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เพราะฉะนั้นแล้วช่างทำผมที่ดีจะต้องรู้จักวิเคราะห์ใบหน้า และเลือกทรงที่สมส่วนกับใบหน้าของแต่ละคน สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับใบหน้าและทรงผมได้ที่นี่

Step 3 : รู้จักกับอุปกรณ์ทำผม

แน่นอนว่าอุปกรณ์ทำผมกับ Hair stylist เป็นของคู่กัน เพราะช่างจะตัดผมหรือเซตผมไม่ได้ถ้าขาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ในขั้นพื้นฐานแล้ว ช่างทำผมทุกคนควรจะรู้จักกับอุปกรณ์ดังนี้ :
  • สำหรับตัด : แบตเตอเลี่ยน กรรไกรตัดผม มีดโกน
  • สำหรับจัดทรง : ไดร์เป่าผม ที่ม้วนผม ที่หนีบผม หวีหาง หวีแปรง หวีไดร์ กิ๊บติดผม หนังยาง สเปรย์เซตผม แว็กซ์เซตผม แฮร์พีช Curl cream และ Dream coat
  • สำหรับทำความสะอาด/บำรุง : แชมพูแห้งสำหรับลูกค้าที่มีผมมัน น้ำมันเซรั่มสำหรับลูกค้าที่มีผมแห้ง

Step 4 : ศึกษาเทรนด์ทรงผม

ช่างทำผมที่ดีจะที่จะต้องติดตามและศึกษาเทรนด์แฟชั่นและทรงผมอยู่ตลอด ยกตัวอย่างเช่นเทรนด์ทรงผมของดาราไม่ว่าจะเป็นดาราฮอลลีวูดในอดีตอย่าง Audrey Hepburn, Marilyn Monroe หรือดาราในปัจจุบันอย่าง Kim Kardashian, Lisa Blackpink การศึกษาเทรนด์ทรงผมจะช่วยให้ช่างได้รู้จักกับทรงผมที่หลากหลาย เป็นการฝึกทักษะการทำผมและการหาแรงบันดาลใจไปในตัว

Step 5 : พัฒนาทักษะรอบด้าน

แน่นอนว่าเป็นช่างทำผมก็ต้องหมั่นฝึกทำผมอยู่ตลอด แต่ที่จริงแล้วการเป็น Hair stylist มีมากกว่าแค่สกิลการทำผมให้สวย แต่จะต้องมีทักษะในด้านอ่าน ๆ ด้วย :
  • ทักษะการสื่อสาร : ช่างทำผมจะต้องมีทักษะการสนทนา-การสื่อสารที่ดี เพราะช่างทำผมจะต้องคอยรับฟังสิ่งที่ลูกค้าขอและสื่อสารทรงผมที่กำลังจะทำออกมาได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นคำแนะนำเรื่องสีผม ทรงผม และสไตล์ต่าง ๆ ที่ Hair stylist จะต้องสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย
  • ทักษะการบริการ : ช่างทำผมจะต้องมีใจที่รักการบริการ เพราะหน้าที่ของ Hair stylist คือการทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในทรงผมตัวเองและพอใจกับการบริการ เพราะฉะนั้นแล้ว Hair stylist ถึงแม้ว่าจะเป็นอาชีพเสริมความงาม แต่ก็ไม่พ้นการบริการลูกค้า
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ : การเป็นช่างทำผมจะต้องใช้มากกว่าทักษะการทำผม เพราะ Hair stylist ที่ดีจะต้องสามารถวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เช่น บุคลิก นิสัย ความมั่นใจ รวมไปถึงสถานที่ที่ลูกค้าจะไป กิจกรรม สภาพอากาศ ฯลฯ เพื่อที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจและแนะนำทรงผมที่เหมาะที่สุดสำหรับลูกค้า

เพราะฉะนั้น นอกจากจะฝึกทักษะการทำผมแล้ว ก็อย่าลืมหันมาสนใจทักษะในด้านการบริการและการสื่อสาร เพราะมันจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการคุณอีก

ป้อม วินิจ
สอนการแต่งหน้าและความงาม

เรียนรู้ทุกเคล็ดลับและเทคนิคจากช่างแต่งหน้าอันดับ 1
สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการแต่งหน้าสำหรับมือใหม่

บทสรุป

และนี่ก็คือ 5 สเตปเริ่มต้นสู่การเป็น Hair stylist สำหรับใครที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นช่างทำผม สามารถติดตามเนื้อหาดี ๆ ได้ที่ IkonClass

บทความล่าสุด

บทเรียนของเรา