ไม่ว่าคุณจะถ่ายรูปภาพด้วยโทรศัพท์หรือกล้อง DSLR กล้องถ่ายรูปถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตพวกเราเป็นอย่างมาก เพียงแค่เรากดชัตเตอร์กล้อง เราก็สามารถหยุดเวลาไว้ในเฟรม กล้องถ่ายรูปทำให้เราสามารถเก็บความทรงจำ สถานที่ คน สิ่งของ สภาพอากาศ อารมณ์ ของห้วงเวลานั้นไว้เป็นที่จดจำของคนที่ย้อนกลับมาดูรูปภาพ ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้เทคนิคขั้นพื้นฐานของการถ่ายรูป ที่จะทำให้คุณเป็นคนถ่ายรูปเก่งไปโดยปริยาย
สารบัญ
กำหนดคอนเซ็ปต์ของรูปภาพ
ทำความเข้าใจกับซับเจค
ทำไมเราต้องศึกษากฎการถ่ายรูป?
กฎสามส่วน
หลายคนอาจจะคิดว่าการถ่ายรูปที่ดีคือการเอาซับเจคไว้ตรงกลางของช่องพอดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตาของมนุษย์ไม่ได้โฟกัสแค่ตรงจุดกลางของรูป ในทางกลับกัน ตาของเรามองภาพโดยรวมในบริเวณที่เส้นตารางตัดกันสี่จุด แต่อย่างไรก็ตาม การเอาซับเจคมาไว้ตรงกลางก็ไม่ถือว่าผิดถ้ารูปที่ถ่ายออกมานั้นมีความสมมาตร แทนที่เราจะเอาหน้าคนมาไว้ตรงกลางเป้ะ ให้เราลองเอาดวงตาของซับเจคไปเทียบกับหนึ่งในสี่ของเส้นตัดโฟกัส
ถ่ายรูปวิว: ข้อควรระวังของการถ่ายรูปวิว คือการที่ด้านล่างหรือด้านบนของรูปภาพนั้นเยอะเกินไป ทำให้เกิดความไม่สมดุลในรูปภาพ เทคนิคของการถ่ายรูปวิวคือ ให้ถือโทรศัพท์หรือกล้องถ่ายรูปเป็นแนวนอน จากนั้น ให้เอาเส้นตารางอันบนไปเทียบกับแนวขอบของวิวด้านบน เท่านี้ เราก็จะได้รูป landscape ที่สมดุลแล้ว
ถ่ายรูปตึก: เวลาที่เราต้องการจะโฟกัสโครงสร้างของตึก ให้ทำการถอยหลังออกมาหรือซูมกล้องออก เพื่อที่โครงสร้างจะได้อยู่ในเฟรมอย่างเท่าเทียม เราจะสังเกตได้ว่า ในรูปข้างซ้าย กล้องอยู่ใกล้กับตัวโครงสร้างจนเกินไป ทำให้จุดโฟกัสกลายเป็นวิวตึกข้างนอก แต่ในรูปข้างขวา การถอยออกมาทำให้โครงสร้างเข้ามาอยู่ในเฟรมได้อย่างสมบูรณ์และเท่าเทียมทั้งฝั่งซ้ายและขวา
การจัดองค์ประกอบรูปภาพ 5 ชนิด
Formal / Symmetrical Balance หรือเทคนิคการถ่ายภาพสมมาตร คือการวางองค์ประกอบในภาพให้สมดุลกันทั้งแนวตั้งและแนวนอน ให้ซับเจคที่เราต้องการแคปเจอร์อยู่ตรงกลางของเฟรม แล้วจินตนาการว่ามีเส้นผ่าศูนย์กลางแบ่งรูปภาพออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนมีองค์ประกอบเท่า ๆ กัน ไม่มีด้านที่ดูเยอะกว่าหรือน้อยกว่า วิธีที่ง่ายที่สุดในการฝึก Symmetrical balance คือลองถ่ายที่มีการสะท้อนที่มีเงาสะท้อนของซับเจค สังเกตุจากรูปตัวอย่างที่เรายกตัวอย่างทางขวามือ วิวของเรือสะท้อนบนผืนน้้ำเปรียบเสมือนเส้นผ่าศูนย์กลางของภาพ ประกอบกับพื้นที่ท้องฟ้าที่มีสัดส่วนพอ ๆ กันผืนน้ำ ทำให้ภาพนี้ออกมาดูมีเสน่ห์และสมบูรณ์
Asymmetrical Balance หรือ การถ่ายภาพที่ไม่สมดุล เป็นการถ่ายภาพที่จัดซับเจคไม่ให้อยู่ตรงกลางของเฟรม ผู้ถ่ายจะต้องคำนึงถึงความสมดุลและความสัมพันธน์ระหว่างซับเจคหลักกับสิ่งแวดล้อม หลักการคิดง่ายๆของ Asymmetrical balance คือ ไม่ว่าซับเจคจะอยู่ซ้าย ขวา บน ล่าง ในขณะเดียวกัน อีกฝั่งของรูปภาพต้องมีอะไรบางอย่างมาถ่วง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าซับเจคหลักอยู่ทางขวาของรูปภาพ ทางซ้ายก็ควรจะมีอะไรบางอย่างมาเติมเต็มรูปภาพ ทำให้รูปภาพมี “นํ้าหนัก” ที่เท่ากัน ในรูปภาพด้านซ้าย จักรยานสองคันที่อยู่ทางขวามือถูกถ่วงด้วยประตูตึกทางซ้ายมือ ผลลัพธ์ที่ได้คือรูปภาพดูมีน้ำหนักเท่ากัน ถึงแม้ว่าซับเจคจะไม่ได้อยู่ตรงกลางของเฟรม
Tonal Balance หรือ การคุมโทนของภาพ การคุมโทนไม่ใช่การคุมสี แต่คือการคุมความเข้มของสี สีที่มีความเข้มจะมีนํ้าหนักและดึงดูดสายตามากกว่าสีอ่อน Tonal Balance จึงเป็นเทคนิคที่เน้นให้ภาพมีความผสมผสานที่ลงตัวระหว่างโทนอ่อนและโทนเข้ม การคุมโทนจะเห็นได้ชัดที่สุดในการถ่ายภาพขาวดำ ดูได้จากรูปประกอบด้านขวามือ ความเข้มของสีดำดึงดูดความสายตาผู้ชมไปยังสระน้ำและนางแบบซึ่งเป็นซับเจคของภาพ ในขณะเดียวกัน แสงสีเทาตรงตัวนางแบบกับแสงจาผิวน้ำลงสู่พื้นสระคือส่วนที่ทำให้ภาพดูมีมิติ และไม่ดูหนักจนเกินไป
Color Balance หรือ การคุมเฉดสีในรูปภาพเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างสีเข้มและสีอ่อน เริ่มต้นง่าย ๆ จากซับเจคที่มีสีสดมากกว่าพื้นหลังหรือองค์ประกอบอื่น ในรูปตัวอย่าง เราจะเห็นว่าตัวบ้านสีแดงเป็นซับเจค ซึ่งโดดเด่นออกมาจากหญ้าสีเขียว ตึกสีครีม และท้องฟ้าสีฟ้าเป็นสีที่อ่อนกว่า รูปนี้ถือว่ามีความสมดุลของเฉดสีเพราะรูปภาพสามารถแสดงสีหลายเฉด แต่ยังมีจุดรวบสายตาที่ชัดเจน และองค์ประกอบแต่ละอย่างไม่แย่งกันเด่น
Conceptual Balance หรือ การจัดวางคอนเซ็ปต์ เป็นการจัดองค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวกับฝีมือทางเทคนิคหรือการตั้งค่าของกล้อง แต่จะพูดถึงการเอาซับเจคหรือไอเดียสองอย่างที่มีความแตกต่าง หรือความไม่เข้ากันมารวมอยู่ในรูปภาพเดียวกัน นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ เวลา สถานที่ สิ่งของ และปรัชญามาเป็นลูกเล่นใน Conceptual balance ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายรูปตึกโบราณกับตึกที่ทันสมัย การถ่ายรูปคนที่แต่งตัวลํ้าสมัยในสถานที่ประวัติศาสตร์ การถ่ายนกที่ติดอยู่ในกรง เราจะสังเกตได้ว่าทุกตัวอย่างที่พูดมาจะมีความย้อนแย้งในรูปภาพเสมอ นี่คือการจัดวางคอนเซ็ปต์ หรือ Conceptual balance นั่นเอง
การถ่ายรูปจากหลายมุมมอง
กล้องถ่ายรูปก็เหมือนตาของมนุษย์ การที่เรามองคน สิ่งของ สัตว์ อาคาร จากระดับความสูงหรือมุมมองใหม่ๆ ทำให้เราค้นพบสิ่งที่เราไม่สามารถเห็นได้จากมุมมองเดิม กล้องถ่ายรูปก็เช่นกัน นอกจากการจัดองค์ประกอบของรูปภาพแล้ว เรายังสามารถเพิ่มความน่าสนใจให้กับรูปภาพโดยการถ่ายจากมุมมองที่แตกต่างจากเดิม
การใช้มุมมองทับซ้อน เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ดีในการถ่ายภาพ landscape หรือรูปธรรมชาติ นั่นก็คือการที่รูปภาพมีการซ้อนระหว่าง พื้นหน้า (สิ่งที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด) พื้นกลาง (สิ่งที่อยู่ช่วงกลาง) และ พื้นหลัง (สิ่งที่อยู่หลังสุดของรูป) การจัดมุมมองแบบซ้อนจะทำให้รูปภาพดูมีมิติและไม่น่าเบื่อ แต่การใช้มุมมองทับซ้อนไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้กับแค่ธรรมชาติอยู่อย่างเดียว เราสามารถนำไปใช้กับการถ่ายรูปคนและสิ่งของได้เช่นกัน ยกตัวอย่างจากรูปด้านซ้ายมือ พื้นหน้าคือบริเวณที่เรากำลังเห็นนักท่องเที่ยวเดินไปมา จะเป็นจุดที่ใกล้คนถ่ายมากที่สุด พื้นกลางคือรูปปั้นสฟิงซ์ที่อยู่ระหว่างพื้นหน้าและพื้นหลัง ส่วนพีระมิดก็คือพื้นหลัง เป็นจุดที่อยู่หลังสุดของรูปภาพ เมื่อเกิดการทับซ้อนระหว่างสามฉาก ผลลัพธ์ที่ได้คือมิติเชิงลึก เป็นการสร้างความลึกและระยะทางในรูปภาพถึงแม้ว่ารูปถ่ายจะเป็นแค่สองมิติ
ณัฐ ประกอบสันติสุข สอนการถ่ายภาพแฟชั่น
เรียนถ่ายรูปกับช่างภาพแนวหน้าของประเทศไทยได้แล้ววันนี้
การถ่ายแบบจุดรวมสายตา 2 จุด หรือ 2-Point Perspective เป็นเทคนิคเดียวกับการวาดภาพเพื่อสามมิติเพื่อโชว์ความลึกของซับเจค หลักการของ 2-Point Perspective คือการลากเส้นจากจุดที่มองไม่เห็นทางซ้ายและขวาบนระนาบแนวนอน (horizontal line) ให้มาบรรจบกันจุดโฟกัส
จากรูปตัวอย่างจะเห็นว่า มุมอาคารตรงกลางเฟรมคือจุดโฟกัส ทำให้อาคารด้านซ้ายแล้วขวาดูยาวและลึกเข้าไปทั้งสองทางอย่างไม่มีมีที่สิ้นสุด
จากรูปตัวอย่างจะเห็นว่า มุมอาคารตรงกลางเฟรมคือจุดโฟกัส ทำให้อาคารด้านซ้ายแล้วขวาดูยาวและลึกเข้าไปทั้งสองทางอย่างไม่มีมีที่สิ้นสุด
กล้าลอง กล้าถ่าย
ในบทความนี้เราก็ได้พูดเกี่ยวกับกฎหลักที่จำเป็นในการถ่ายรูป เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับซับเจค การจัดองค์ประกอบ กฎสามส่วน และอีกมากมาย แต่ท้ายที่สุดแล้ว การศึกษาเทคนิคและวิธีการถ่ายรูปก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ทางเดียวที่จะทำให้คุณถ่ายรูปเก่งขึ้นคือการที่คุณได้ลงมือออกไปถ่ายรูปจริงๆ พร้อมกับเทคนิคที่ได้เรียนรู้มา เมื่อคุณถ่ายรูปบ่อยขึ้น มันก็จะหล่อหลอมฝีมือและวิสัยทัศน์ของคุณไปในตัว คุณก็จะเริ่มสร้างความคุ้นเคยกับรูปที่สวยและสมมาตร อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าบทความนี้จะพูดถึงกฎเกณฑ์การถ่ายรูปเป็นหลัก แต่ก็ขออย่าให้คุณกลัวที่จะลองอะไรแปลกใหม่ไปจากสิ่งที่กฎได้ชี้แนะไว้ และที่สำคัญที่สุด คุณต้องมีความกล้าที่จะหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายรูป ไม่ว่าจะอยู่ในสาธารณะที่มีคนเต็มไปหมด หรือ ในที่เงียบๆ ที่มีแต่กล้องกับคุณ ขอให้คุณกล้าที่จะหยิบกล้องขึ้นมาเก็บความทรงจำอันลํ้าค่าไว้ตลอดไป