ภาพถ่ายที่ดีคือหนึ่งในสิ่งที่สามารถส่งข้อความที่เราต้องการจะสื่อสารออกไปได้ เป้าหมายคือทำให้คนที่ดูภาพของเราได้เข้าใจถึงเรื่องราว อารมณ์และความรู้สึกที่ต้องการจะสื่อสารออกไป การใช้ Mood and Tone เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ช่างภาพมือสมัครเล่นและมืออาชีพสามารถนำมาใช้ในภาพถ่ายได้ เพื่อสร้างเสริมองค์ประกอบความสวยงามของภาพ ช่วยเล่าเรื่องและทำให้ภาพถ่ายมีเรื่องราวมากขึ้น
วันนี้ IkonClass รวบรวมข้อมูลและเทคนิคการใช้ Mood and Tone สำหรับภาพถ่ายมาฝากทุกคนกัน เผื่อจะนำไปปรับใช้ พัฒนางานภาพให้ออกมาสวยกินใจ พร้อมสื่ออารมณ์และความหมายได้ชัดเจนและโดดเด่นมากยิ่งขึ้
วันนี้ IkonClass รวบรวมข้อมูลและเทคนิคการใช้ Mood and Tone สำหรับภาพถ่ายมาฝากทุกคนกัน เผื่อจะนำไปปรับใช้ พัฒนางานภาพให้ออกมาสวยกินใจ พร้อมสื่ออารมณ์และความหมายได้ชัดเจนและโดดเด่นมากยิ่งขึ้
สารบัญ
Mood and Tone คืออะไร?
Mood and Tone เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการออกแบบ แฟชั่น ภาพยนตร์ การเขียน ตลอดจนไปถึงการถ่ายรูป ในส่วนของ Mood and Tone สำหรับวงการถ่ายภาพแฟชั่นโดยเฉพาะนั้นคือการสร้างคอนเซ็ปต์ของงานด้วยการใช้สี แสง และองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้สึกและควบคุมอารมณ์ของภาพโดยรวม เพราะ Mood คือ อารมณ์ และ Tone คือ สีที่ใช้ ซึ่งหลักการนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการจะใช้ หรือให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อความหมายในภาพถ่ายแต่ละเซ็ตก็ได้เช่นกัน
นอกจากเรื่องของการเล่าเรื่องแล้ว การกำหนด Mood and Tone ให้กับงานภาพถ่ายนั้นยังช่วยให้เราสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้กับงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งคำว่า Mood หมายถึงอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นความสนุก สงบ เศร้า ร่าเริงหรืออื่น ๆ ส่วนคำว่า Tone หมายถึงสีหลักในงาน ซึ่งจะป็นตัวกำหนดอารมณ์ เช่น ภาพโทนสีฟ้า จะทำให้ดูมีความสงบ เย็นสบาย หรือเศร้า ภาพสีเหลืองจะดูสดใส ร่าเริง เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากเราเลือก Mood and Tone ให้กับภาพถ่ายของเราได้อย่างเหมาะสม ก็จะทำให้ภาพถ่ายของเรานั้นมีความน่าสนใจและมีความหมายมากกว่าเพียงภาพถ่ายธรรมดาอย่างแน่นอน
Mood and Tone มีอะไรบ้าง
เมื่อรู้ความหมายของ Mood and Tone ไปแล้ว ก็ลองมาทำความรู้จักกับเหล่า Mood and Tone ที่มักจะถูกหยิบยกมาใช้บ่อย ๆ ในงานหลากหลายชนิด ซึ่งสื่อถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น
- ความโกรธ: สำหรับงานที่อยากแสดงออกถึงความโกรธ มักจะเลือกใช้สีแดงเป็นหลัก เพราะเป็นสีที่ดึงดูดสายตาและแสดงถึงความก้าวร้าว ความร้อนแรง ความกล้าหาญ ตื่นเต้นได้ดี
- ความเงียบสงบ: หากต้องการสื่อถึงบรรยากาศที่เงียบสงบในงาน ก็สามารถเลือกใช้ได้หลายสีขึ้นอยู่กับคอนเซ็ปต์ของงาน เช่นสีม่วง สีน้ำเงิน หรือสีเทา ที่ทำให้ภาพรวมดูมีความสงบนิ่งมากขึ้น
- ความอ่อนโยน: สำหรับงานที่อยากให้ออกมาดูมีความอ่อนโยน น่าสัมผัส มักจะเน้นการใช้สีขาว หรือสีโทนอ่อนเป็นหลัก
- ความเศร้า: ในงานที่เน้นไปถึงความโศกเศร้าหรือความมืดบอด มักจะเลือกใช้สีเข้มอย่างเช่นสีดำ สีเทาเข้ม ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงความเศร้าแล้ว หลาย ๆ ครั้งก็ถูกนำไปใช้กับงานที่ต้องการสร้างความรู้สึกแข็งแกร่งด้วยเช่นกัน
การกำหนด Mood and Tone ในภาพถ่ายด้วย Moodboard
หลังจากที่ได้รู้แล้วว่า Mood and Tone คืออะไร และมีอะไรบ้างนั้น อีกหนึ่งสิ่งที่จะสามารถช่วยให้คุณทำงานกับ Mood and Tone ในภาพถ่ายคุณง่ายขึ้น นั่นก็คือการทำ Moodboard หรือมู้ดบอร์ดนั่นเอง ซึ่ง Moodboard คือกระดาน หรือพรีเซนเทชั่น ที่รวบรวมเอาไอเดีย แนวทาง โทนสี บรรยากาศ และอารมณ์ที่คุณชอบเพื่อให้คุณเห็นภาพของชิ้นงานได้ชัดเจนขึ้น
นอกจากนี้แล้วการทำ Moodboard ยังทำให้คุณสามารถทำงานกับทีมได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้ทีมเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่า Mood and Tone ของภาพถ่ายนั้น ๆ จะมีลักษณะหรือทิศทางการเล่าเรื่องอย่างไร อีกทั้งคุณยังสามารถนำมาปรับใช้ในการถ่ายภาพสำหรับช่องทางโชเซียลมีเดียส่วนตัวของคุณได้อีกด้วย
นอกจากนี้แล้วการทำ Moodboard ยังทำให้คุณสามารถทำงานกับทีมได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้ทีมเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่า Mood and Tone ของภาพถ่ายนั้น ๆ จะมีลักษณะหรือทิศทางการเล่าเรื่องอย่างไร อีกทั้งคุณยังสามารถนำมาปรับใช้ในการถ่ายภาพสำหรับช่องทางโชเซียลมีเดียส่วนตัวของคุณได้อีกด้วย
ภาพโทนร้อนและโทนเย็นตัวช่วยกำหนด Mood and Tone ของภาพ
สำหรับการทำงานศิลปะ สีต่าง ๆ นั้นมีส่วนเป็นอย่างมากในการช่วยกำหนดอารมณ์และความรู้สึกของภาพ ไม่ว่าจะเป็นงานภาพศิลปะ งานวาดภาพ งานออกแบบ ตลอดจนไปถึงงานภาพถ่าย ดังนั้นนอกจากเรื่องของการทำ Moodboard (หรือ Mood board จะเขียนรวบหรือแยกเป็นสองคำก็แล้วแต่ดิกชันนารีที่อ้างอิง) แล้ว การทำความรู้จักกับโทนสีของภาพอย่างภาพโทนร้อน ภาพโทนเย็นเองก็สำคัญเช่นกัน
โดยภาพโทนร้อนและภาพโทนเย็นนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชิ้นเชิงทั้งในส่วนของทฤษฎีสี และการบ่งบอกถึงอารมณ์ที่ต้องการจะสื่อออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยภาพโทนร้อนและภาพโทนเย็นนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชิ้นเชิงทั้งในส่วนของทฤษฎีสี และการบ่งบอกถึงอารมณ์ที่ต้องการจะสื่อออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ความแตกต่างของสีโทนร้อนและสีโทนเย็น
- ความหมายของสีโทนร้อน : สีโทนร้อนหลัก ๆ นั้นจะเป็นสีแดง ส้มและสีเหลือง โดยมักจะใช้สื่อถึงความรวดเร็ว กระฉับกระเฉง ความรุนแรง ความสุขความ
- ความหมายของสีโทนเย็น : สีโทนเย็นนั้นหลัก ๆ จะประกอบไปด้วยสีเขียว น้ำเงินและม่วง ซึ่งสื่อถึงความหนักแน่น ความสุขุม ความเศร้า จนไปถึงความลึกลับ
สร้าง Mood and Tone ของภาพถ่ายด้วยสีโทนร้อน
การสร้างอารมณ์สำหรับภาพโทนร้อนนั้นมักจะประกอบไปด้วยสีที่มีความฉูดฉาด ร้อนแรง โดยองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้คุณรู้สึกสดใสและมีความกระตือรือร้น นอกจากนี้แล้วสีโทนร้อนนั้นยังให้ความรู้สึกรุนแรง อบอุ่น รวมทั้งยังเป็นสีที่แสดงถึงอำนาจและมีกำลังด้วยเช่นกัน
หากคุณต้องการถ่ายภาพที่มีความสดใส น่ารักและดูอบอุ่นเป็นกันเอง คุณสามารถเลือกใช้สถานที่ที่มีสีโทนร้อนเป็นหลักในการถ่ายภาพได้ หรือเน้นการใช้แสงธรรมชาติที่มีโทนอุ่น เป็นสีเหลืองอ่อน ๆ เพื่อทำให้ภาพดูเป็นมิตรมากขึ้น หรืออาจจะให้ตัวแบบสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส เป็นสีโทนร้อนก็ได้เช่นกัน
นอกจากจะภาพโทนร้อนนั้นจะดูสดใสร่าเริงแล้ว ถ้าหากคุณต้องการทำให้ภาพถ่ายมีความเซ็กซี่ ดูร้อนแรง ก็สามารถเลือกใช้สีโทนร้อนที่มีความเข้มได้ เช่นสีแดงเข้ม ที่แสดงถึงความร้อนแรง และความเซ็กซี่
หากคุณต้องการถ่ายภาพที่มีความสดใส น่ารักและดูอบอุ่นเป็นกันเอง คุณสามารถเลือกใช้สถานที่ที่มีสีโทนร้อนเป็นหลักในการถ่ายภาพได้ หรือเน้นการใช้แสงธรรมชาติที่มีโทนอุ่น เป็นสีเหลืองอ่อน ๆ เพื่อทำให้ภาพดูเป็นมิตรมากขึ้น หรืออาจจะให้ตัวแบบสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส เป็นสีโทนร้อนก็ได้เช่นกัน
นอกจากจะภาพโทนร้อนนั้นจะดูสดใสร่าเริงแล้ว ถ้าหากคุณต้องการทำให้ภาพถ่ายมีความเซ็กซี่ ดูร้อนแรง ก็สามารถเลือกใช้สีโทนร้อนที่มีความเข้มได้ เช่นสีแดงเข้ม ที่แสดงถึงความร้อนแรง และความเซ็กซี่
สร้าง Mood and Tone ของภาพถ่ายด้วยสีโทนเย็น
นอกจากภาพโทนร้อนที่แสดงถึงความสดใส ความร้อนแรงแล้ว ก็จะมีภาพโทนเย็นที่แสดงถึงความรู้สึกที่ตรงข้ามเช่นกัน สำหรับการใช้อารมณ์ของภาพเป็นสีโทนเย็นนั้นจะแตกต่างจากโทนร้อนอย่างสิ้นเชิง เพราะสีโทนเย็นนั้นจะให้ความรู้สึกที่ร่มเย็น มีความสงบนิ่ง ให้อารมณ์ที่เรียบง่าย และหนักแน่นมากกว่าภาพโทนร้อน หลาย ๆ ครั้งภาพโทนเย็นนั้นก็ยังถูกนำมาใช้ในอารมณ์ที่แสดงถึงความเศร้า มืดหม่นและเย็นชา และภาพโทนเย็นนั้นประกอบด้วย สีฟ้า สีน้ำเงินและสีเขียว
หากคุณต้องการถ่ายภาพที่แสดงให้ถึงความทรงพลัง ความหนักแน่น คุณก็สามารถเลือกใช้พื้นหลังหรือองค์ประกอบหลักต่าง ๆ เป็นสีโทนเย็นได้ เช่น สีดำ สีน้ำเงินเข้ม สีเทาเข้มเป็นต้น ถ้าหากอยากทำให้ภาพถ่ายมีความลึกลับ ก็สามารถจัดฉากถ่ายภาพเป็นโทนเย็นโดยใช้สีม่วง เพื่อเพิ่มความน่าลึกลับได้เช่นกัน
หากคุณต้องการถ่ายภาพที่แสดงให้ถึงความทรงพลัง ความหนักแน่น คุณก็สามารถเลือกใช้พื้นหลังหรือองค์ประกอบหลักต่าง ๆ เป็นสีโทนเย็นได้ เช่น สีดำ สีน้ำเงินเข้ม สีเทาเข้มเป็นต้น ถ้าหากอยากทำให้ภาพถ่ายมีความลึกลับ ก็สามารถจัดฉากถ่ายภาพเป็นโทนเย็นโดยใช้สีม่วง เพื่อเพิ่มความน่าลึกลับได้เช่นกัน
เทคนิคง่าย ๆ ในการคิด Mood and Tone ให้เข้ากับงาน
ในแต่ละงานย่อมมีอารมณ์ที่อยากจะสื่อสารแตกต่างกันไป นอกจากการใช้ภาพโทนร้อนละเย็นแล้ว หากคุณต้องการที่จะสื่อสาร Mood and Tone ในแบบของคุณ สิ่งที่คุณต้องเตรียมคือ เรื่องที่คุณอยากจะเล่าออกมาเป็นภาพ สีที่ต้องการใช้สื่อสาร และการวางองค์ประกอบภาพที่เหมาะสมกับเรื่องราวนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวแบบ สถานที่ แสงไฟ หรือการแสดงสีหน้าต่าง ๆ ของตัวแบบ เช่น ถ้าคุณต้องการถ่ายภาพหญิงสาวที่มีความสุข ก็ต้องเป็นการเล่นสีโทนร้อนเพื่อให้ภาพดูมีชีวิตชีวามาก ๆ และนอกจากนั้นยังดูมีความอบอุ่นของแสงแดดทำให้การสื่อสารชัดเจนมากขึ้นว่าตัวแบบกำลังมีความสุขอยู่ หรือขั้วตรงข้ามอย่างสีโทนเย็น จะทำให้รู้สึกสงบนิ่ง เย็นชา การสื่อสารทางอารมณ์ก็จะเปลี่ยนไปเป็นคนละแบบ