เมื่อพูดถึงอาชีพ Modeling (โมเดลลิ่ง) เรามักจะนึกถึง นางแบบ-นายแบบที่กำลังเดินบนแฟชั่นรันเวย์ แต่ในปัจจุบัน การทำอาชีพโมเดลลิ่งไม่ถูกจำกัดอยู่กับแค่เวทีรันเวย์อีกต่อไป ในบทความนี้ IkonClass จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับประเภทหลักและแขนงของสายงานโมเดิลลิ่งที่นางแบบ-นายแบบเริ่มต้นควรรู้จัก
สารบัญ
Runway Model
สำหรับการโมเดลลิ่งบนรันเวย์ นางแบบ-นายแบบ จะมีหน้าที่เดินแบบบนเวทีเพื่อนำเสนอคอลเลคชั่นเสื้อผ้าของแบรนด์ในฤดูกาลนั้น ๆ ซึ่งการโมเดลลิ่งบนรันเวย์แฟชั่นถือว่าเป็นการเดินแบบที่นางแบบหลายคนใฝ่ฝัน เพราะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับตัวนางแบบ และมีผลดีต่อ Portfolio
Fashion / Editorial Model
อีกหนึ่งช่องทางของการโมเดลลิ่งก็คือ Fashion Model หรือ Editorial Model ซึ่งก็คือการเป็นแบบให้กับแบรนด์แฟชั่นและนิตยสารแฟชั่นอย่าง Vogue, Elle, W, Harper’s Bazaar, Cosmopolitan เป็นต้น หน้าที่ของ Editorial Model ก็คือการเป็นแบบให้กับแบรนด์แฟชั่นเพื่อแสดงสินค้า เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ความงาม เทรนด์ความงาม ผ่านการถ่ายภาพลงนิตยสาร
Commercial Model
โมเดลลิ่งสำหรับงานโฆษณา ไม่จำกัดว่าจะต้องร่วมงานกับแฟชั่นแบรนด์ นางแบบ-นายแบบในแขนงนี้สามารถเป็นแบบใหกับสินค้าประเภทอะไรก็ได้ตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง เทียบกับ Runway Model หรือ Fashion Model การเป็น Commercial Model จะมีเงื่อนไขในการสมัครที่ไม่เคร่งครัดน้อยกว่า
Parts Model
Parts Model หรือ การทำโมเดลลิ่ง “เฉพาะส่วน” เช่น มือ แขน ขา เท้า เป็นต้น สามารถร่วมงานกับผู้ว่าจ้างที่ต้องการใช้บางส่วนของร่างกายในการถ่ายทำโฆษณา เช่น บริษัทเครื่องประดับ หรือ ร้านขายรองเท้า ซึ่งการเป็น Parts Model นั้นจะต้องรักษารูปลักษณ์ของ “ส่วน” ที่ใช้ถ่ายแบบเป็นยังมาก และต้องมีทักษะในการสวมใส่หรือจับถือสินค้าให้ดูงดงาม
Swimsuit & Lingerie Model
สำหรับการโมเดลลิ่งให้กับแบรนด์ชุดว่ายน้ำหรือชุดชั้นใน นางแบบจะต้องดูแลร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์อยู่ตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้ว นางแบบที่จะถ่ายโฆษณาชุดว่ายน้ำหรือชุดชั้นในจะต้องมีรูปร่างที่เรียวและ “curve” เพื่อให้ชุดที่ใส่ดูน่าดึงดูด
Glamour Model
Glamour Model จะเน้นไปที่ “เสน่ห์” และ “ความงาม” ของนางแบบ และบ่อยครั้งการถ่ายแบบ Glamour จะมีการแสดงหรือเปิดเผยส่วนของร่างกายเพื่อ “โชว์” รูปลักษณ์นางแบบ เพราะฉะนั้นแล้ว การเป็นนางแบบ Glamour จะต้องเป็นคนที่มีหน้าตาดี รูปร่างที่สวยหรือมีเอกลักษณ์ชัดเจน และมีความกล้าแสดงออกในการโชว์ร่างกาย ตัวอย่างของการถ่ายแบบ Glamour เช่น นางแบบบนหน้าปกนิตยสาร Maxim, Playboy, Penthouse ที่มีกลุ่มผู้อ่านเป็นเพศชายเป็นหลัก
Fitness Model
การโมเดลให้กับแบรนด์ผลิตภัณฑ์ออกกำลังกายจะถูกนับอยู่ในแขนงของ “Fitness Model” แน่นอนว่านางแบบหรือนายแบบในสายงานนี้จะต้องดูแลร่างกายอยู่เสมอ แบรนด์มักจะมองหาแบบที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีกล้ามเนื้อที่ชัดเจน หรือบางครั้งก็จ้างนักกีฬามืออาชีพเพื่อการถ่ายแบบ จึงทำให้การทำโมเดลลิ่งในสายงานนี้มีการแข่งขันค่อนข้างสูง
Child Model
รู้หรือไม่ ว่านางแบบระดับตำนานอย่าง Naomi Campbell และดาราดังอย่าง Natalie Portman, Zendaya หรือ Bella Thorne ต่างเริ่มจากการเป็น Child Model หรือว่าโมเดลลิ่งสำหรับเด็กนั่นเอง โดยทั่วไปแล้ว เอเจนซี่จะมองหาเด็กที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัยที่ดี และเรียนรู้งานได้ไว โปรเจคสำหรับนางแบบเด็กรวมถึงแต่ไม่จำกัดแค่ แบรนด์เสื้อผ้าเด็ก ถ่ายแบบนิตยสาร การเดินรันเวย์ ฯลฯ
Promotional Model
Promotional Model เป็นการทำงานโมเดลลิ่งให้กับผลิตภัณฑ์ตามงานอีเว้นท์ต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์หลักในการชักชวนและสนทนากับลูกค้าภายในงาน ด้วยเหตุนี้ นางแบบจะต้องมีอัธยาศัยและรูปลักษณ์ที่ดี และมีความรู้เกี่ยวกับตัวสินค้าตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ตัวอย่างของ Promotional Model จะเห็นได้เยอะสุดในงานโชว์รถ งานอีเว้นท์วิดีโอเกม งานแข่งรถ Formula 1 หรือที่คนไทยมักจะเรียกว่า “พริตตี้” นั่นเอง
Plus-size Model
เป็นที่รู้จักกันในวงการโมเดลลิ่งว่ามาตรฐานของนางแบบ-นายแบบ มักจะเอนเอียงไปทาง “ผอม สูง โครงหน้าชัดเจน” แต่หลายปีให้หลัง วงการโมเดลลิ่งในต่างประเทศก็ได้เริ่มเปิดรับนางแบบและนายแบบ “Plus-size” ที่แตกต่างจาก “มาตรฐาน” ของวงการ ซึ่งทำให้เอเจนซี่ต่าง ๆ สามารถนำเสนอลุคนางแบบที่แปลกใหม่ พร้อมกับการตั้งคำถามค่านิยม “ความสวย” ของสังคม ในปัจจุบัน เราจะสามารถเห็น Plus-size Model ตามรันเวย์แฟชั่น หน้าปกนิตยสาร ป้ายโฆษณาแบรนด์เสื้อผ้า หรือแม้แต่ในการแข่งขันนางงามขั้นสูงอย่าง Miss Universe 2023 โดยมี Miss Nepal, Jane Dipika Garrett ผู้เป็นตัวแทนให้กับ Plus-size Model