เคล็ดลับการหุงข้าวให้อร่อย หอม นุ่ม ไม่ติดหม้อ

May 31 / IkonClass Staff
ในวัฒนธรรมไทย ข้าวสวยเป็นสิ่งทึ่เคียงคู่กับอาหารไทยมาแต่สมัยโบราณ จนปัจจุบันคนไทยก็ยังคงนิยมทานข้าวสวยเป็นหลักถึงแม้ว่าจะมีการแพร่หลายของอาหารชาติอื่น ๆ เข้ามา ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับข้าวชนิดต่าง ๆ พร้อมกับวิธีการหุงข้าวของแต่ละชนิดให้อร่อยที่ใคร ๆ ก็สามารถทำตามได้ภายใน 5 นาที
เชฟต้น-ธิติฏฐ์กับมุมมองต่ออาหารไทยที่แตกต่างไปจากเดิม | IkonClass
เรียนทำอาหารไทยกับ
เชฟมิชลิน

ข้าวไทย

ทัพพีตักข้าวหอมมะลิสุก
ข้าวที่มีชื่อเสียงโดงดั่งไปทั่วโลก “ข้าวหอมมะลิไทย” เป็นขาวที่มีถิ่นกำเนิดในไทยและเป็นข้าวที่ทุกครัวเรือนต้องมีประจำครัว ข้าวหอมมะลิจะให้ความหอมจากธรรมชาติ มีเม็ดที่เรียวยาว เมื่อหุงสุกแล้วจะมีความนุ่มเหนียว :
  1. ตวงข้าวสารใส่หม้อหุงข้าว ใช้น้ำสะอาดซาวข้าว 2-3 รอบจนกว่าน้ำจะมีสีใส ไม่ขุ่น และปราศจากเศษฝุ่น จากนั้นให้เทน้ำออกให้หมด
  2. สำหรับการตวงน้ำ สามารถใช้อัตราส่วนตามที่ยี่ห้อได้กำหนดมาตรงข้างถุงข้าว หรือสามารถใช้อัตราส่วนมาตรฐาน (ข้าว 1 ส่วน : น้ำ 1.2 ส่วน) หรือด้วยวิธีที่เรียบง่าย ใช้ปลายนิ้วชี้แตะไปที่เม็ดข่าวข้างบน จากนั้นให้เทน้ำลงหมอข้าวสารโดยที่ระดับน้ำควรจะอยู่ที่ระดับข้อแรกของนิ้วชี้
  3. เพื่อเพิ่มความเด้งและกลิ่นหอมให้กับข้าว สามารถเติมเกลือ 1 ช้อนชา และน้ำส้มสายชู 2-3 หยด ไม่ต้องห่วงว่าข้าวจะมีกลิ่นเปรี้ยวเพราะกลิ่นจะระเหยไปเองในขณะที่หุงข้าว
  4. เช็ดก้นหม้อข้าวให้แห้งก่อนนำไปใส่เครื่องหุงข้าว
  5. เมื่อสวิตช์แจ้งเตือนเด้ง อย่าพึ่งรีบเปิดฝา ให้ทิ้งข้าวไว้ในหมอประมาณ 20 นาทีเพื่อให้ไอน้ำระอุถึงก้นหม้อ แค่นี้ข้าวก็จะไม่ติดหม้อแล้ว
นิยมรับประทานคู่กับ : กับข้าวทั่วไป ข้าวสวยข้างคืนสามารถนำไปทำข้าวผัดหรือข้าวต้มได้ 

ข้าวญี่ปุ่น

ข้าวญี่ปุ่นสุกในชามข้าว
เป็นที่นิยมในร้านอาหารญี่ปุ่น เมื่อหุงสุก ตัวข้าวจะมีทรงอ้วนกลม มีความเหนียวหนึบเหมือนข้าวเหนียวและให้ผิวสัมผัสที่นุ่มเมื่อรับประทาน สำหรับการหุงข้าวญี่ปุ่นนั้นก็จะคล้ายกับการหุงข้าวหอมมะลิไทย :
  1. ตวงข้าวสารใส่หม้อหุงข้าวตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดซาวข้าว 2-3 รอบจนกว่าน้ำจะใสสะอาด สามารถใช้มือถูเม็ดข้าวอย่างแผ่วเบาเพื่อช่วยกำจัดสิ่งสกปรก
  2. แช่ข้าวในน้ำสะอาดไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อให้เมล็ดข้าวดูดซึมน้ำได้ทั่วถึง ทำให้ข้าวหุงสุกเสมอกัน
  3. เทน้ำแช่ข่าวออกและทำการตวงน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้โดยผู้ผลิต
  4. เมื่อหม้อหุงข้าวร้องแจ้งเตือนความสุก ให้ทำการปิดฝาทิ้งไว้ก่อนเหมือนในขั้นตอนของข้าวหอมมะลิ เพื่อให้ไอน้ำได้ระอุกระจายไปถึงก้นหม้อ
นิยมรับประทานคู่กับ : อาหารประเภทเนื้อ เช่น ข้าวหน้าเนื้อ หรือข้าวหน้าปลาไหล และยังสามารถนำไปทำข้าวปั้นโอนิกิริ ข้าวปั้นซูชิ ซูชิโรล หรือข้าวผัดกระเทียมแบบญี่ปุ่น

ข้าวไรซ์เบอร์รี่

ข้าวไรซ์เบอร์รี่สุกในหม้อหุงข้าว
ด้วยคุณค่าทางอาหารที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี วิตามินบี 1 โอเมก้า 3 ฯลฯ ทำให้ข้าวไรซ์เบอร์รี่เป็นที่นิยมสำหรับคนที่ชอบทานอาหารคลีน เมื่อหุงสุก ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีเนื้อสัมผัสที่เหนียวนุ่ม มีทรงเรียวยาว และมีสีม่วงที่คล้ายกลับผลไม้เบอร์รี่ :
  1. ตวงข้าวสารใส่หม้อหุงข้าว ใช้น้ำสะอาดซาวข้าวจนกว่าน้ำจะใส
  2. ตวงด้วยอัตราส่วน ข้าว 1 ส่วน : น้ำ 2 ส่วน หรือตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ตรงฉลากข้างถุง
  3. ใส่น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะเพื่อให้ข้าวไม่แข็งหรือแห้งจนเกินไปนตอนสุก ตามด้วยน้ำส้มสายชู 2-3 หยดเพื่อให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากยิ่งขึ้นและป้องกันไม่ให้ข้าวบูดง่าย
  4. เมื่อหุงเสร็จ ให้ปิดฝาหม้อหุงข้าวไว้ก่อนประมาณ 20 นาที เพื่อให้ไอน้ำระอุได้ทั่วถึงก้นหม้อข้าวเพื่อไม่ให้ข้าวติดหม้อ
นิยมรับประทานคู่กับ : กับข้าวทั่วไปเหมือนข้าวหอมมะลิ 

ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียวหุงร้อนในหวด
ข้าวเหนียวเป็นอาหารคู่ใจของชาวอีสาน เมื่อหุงสุก ตัวเม็ดข้าวจะมีความเหนียวหนึบจับติดกัน โดยเดิมแล้ว ข้าวเหนียวจะถูกนึ่งโดยการใช้หวดและไอน้ำจากน้ำร้อน แต่ทว่าในปัจจุบันการใช้หวดไม่เป็นที่นิยมนัก เลยจำเป็นที่จะต้องหุงโดยการใช้หม้อหุงข้าวปกติแทน :
  1. สำหรับข้าวเหนียวเก่า ให้ทำการแช่น้ำไว้ประมาณ 1 คืนก่อนนำมาหุง
  2. สำหรับข้าวเหนียวใหม่ ให้แช่น้ำทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมงก่อนนำมาหุง
  3. เทน้ำแช่ข้าวเหนียวออก ใช้น้ำสะอาดซาวข้าวเหนียวจนกว่าน้ำจะใสสะอาด จากนั้นให้สะเด็ดน้ำและผึ่งจนแห้ง
  4. เทคนิคหุงข้าวเหนียวไม่ให้ติดก้นหม้อคือการนำผ้าขาวมาลองก้นหม้อก่อนที่จะเทข้าวเหนียวลงไป
  5. เมื่อเทข้าวเหนียวลงหม้อแล้ว ทำการตวงน้ำตามอัตราส่วน ข้าวเหนียว 1 : น้ำ 1 หรือตามที่ระบุไว้ตรงฉลากถุง
  6. กดหุงข้าวตามปกติ เมื่อหม้อหุงข้าวแจ้งเตือนความสุก ให้ทำการเปิดฝาและใช้ทัพพีพลิกข้าวเหนียวด้านล่างให้มาอยู่ข้างบน จากนั้นก็ทำการปิดฝาต่ออีก 15-20 นาที
นิยมรับประทานคู่กับ : ส้มตำ หมูปิ้ง คอหมูย่าง และอาหารรสจัด หรือจะนำไปประยุกต์ทำเป็นของหวานอย่างข้าวเหนียวมูน หรือนำไปหมักเป็นสุราพื้นเมือง

ข้าวมัน

ข้าวมันไก่
เมนู ข้าวมันไก่ ถือที่เป็นขวัญใจชาวไทย โดยแต่ละร้าน แต่ละครัวเรือนจะมีสูตรที่ต่างกัน บ้างจะใช้ข้าวกลางปี (ข้าวมที่มีอายุ 4-12 เดือน) หรือ บางที่ก็ใช้เป็นข้าวหอมมะลิผสมข้าวเหนียว ความมันและกลิ่นหอมได้มาจากการผัดเครื่องเทศกับตัวข้าวในกระทะ สูตรของข้าวมันไก่นั้นไม่ตายตัว สามารถลดหรือเพิ่มปริมาณเครื่องปรุงและเครื่องเทศได้ตามความชอบของผู้ทาน
  1. ตั้งกระทะให้ร้อนและเทน้ำมันพืชหรือน้ำมันไก่ลงไป
  2. ผัดกระเทียมและขิงแก่หั่นแว่น (ประมาณ 1 แง่ง) จนมีกลิ่นหอม
  3. ตวงข้าวสารตามจำนวนที่ต้องการและเทลงไปในกระทะ ตามด้วยน้ำสต๊อกไก่ หรือ คนอร์ขวดซอสข้นปรุงรส รสไก่ 1 ช้อนโต๊ะ จากนั้นให้ทำการผัดจนกว่าน้ำสต๊อกจะแห้งหรือจนกว่าซอสจะคลุกเม็ดข้าวได้ทั่วถึง
  4. ย้ายข้าวที่ถูกผัดแล้วไปใส่ในหม้อหุงข้าว ถ้ามีน้ำสต๊อกไก่ก็สามารถใช้แทนน้ำเปล่าได้ อัตราส่วนของน้ำควรน้อยกว่าการหุงข้าวธรรมดาเล็กน้อย สามารถใส่เกลือและใบเตยมัดบนตัวข้าวได้เพื่อเพิ่มความหอม
  5. เมื่อครบเวลาหุงของหมอหุงข้าว ให้ทำการปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีเพื่อให้ข้าวแห้งสนิท

เชฟต้น
สอนการทำอาหารไทยสไตล์โมเดิร์น

เรียนรู้เทคนิคการทำอาหารไทย จากเชฟระดับมิชลิน
เชฟต้น-ธิติฏฐ์กับมุมมองต่ออาหารไทยที่แตกต่างไปจากเดิม | IkonClass

บทสรุป

เช่นเดียวกันกับการทำอาหาร การหุงข้าวก็ไม่มีสูตรที่ตายตัว บางท่านอาจจะชอบทานข้าวที่แฉะเล็กน้อย บางท่านชอบทานข้าวเป็นเม็ดร่วนแห้ง IkonClass อยากให้ผู้อ่านได้ลองอัตราส่วนของน้ำและข้าวสารเพื่อหาจุดที่ลงตัวตามความชอบของตัวคุณเอง เมื่อคุณหุงข้าวได้อร่อยแล้ว อย่าลืมมาฝึกฝนการทำอาหารกับเชฟมิชลิน เชฟต้น ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร ที่ IkonClass หละ !

บทความล่าสุด

บทเรียนของเรา