เบียร์คราฟ-คราฟเบียร์ คืออะไร? เดี๋ยวอธิบายให้ฟัง

Jun 2 / IkonClass Staff
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าผู้คนเริ่มหันมาดื่ม “คราฟเบียร์” กันมากขึ้นและมีเบียร์ชนิดใหม่ แบรนด์ใหม่ที่เราไม่เคยเห็นออกขายตามท้องตลาด และเบียร์เหล่านี้ก็ได้จากผู้ผลิตชาวไทย เช่น เบียร์เชียงใหม่ ที่ใช้ข้าวสาลีจากอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ หรือ เบียร์บุษบาและเบียร์ชาละวันจากฟูลมูนบริวเวอร์คซึ่งเป็นแบรนด์คราฟเบียร์เจ้าแรกที่ถูกกฎหมายของไทย

สายตี้หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ หรือเคยลองชิมเบียร์ชนิดต่าง ๆ มาดูบ้างแล้ว ซึ่งวันนี้ IkonClass ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคราฟเบียร์หรือเบียร์คราฟโดยเบื้องต้นมาให้ได้อ่านกัน เบียร์ประเภทนี้ รสชาติประมาณไหน ไปดูกันเลย
เชฟต้น-ธิติฏฐ์กับมุมมองต่ออาหารไทยที่แตกต่างไปจากเดิม | IkonClass
เรียนทำอาหารไทยกับ
เชฟมิชลิน

เบียร์คราฟ-คราฟเบียร์ คืออะไร

เราอาจจะมีภาพจำที่ว่าคราฟเบียร์เป็นเบียร์ดำหรือเบียร์สดที่กดจากแทปเท่านั้น แต้แท้จริงแล้ว คราฟเบียร์ (Craft beer) หรือที่บางคนเรียกว่า เบียร์คราฟ หมายถึงเบียร์ที่มาโรงเบียร์อิสระหรือโรงเบียร์ท้องถิ่น คำว่า craft ซึ่งแปลว่า งานฝีมือ ในที่นี้บ่งบอกถึงผู้ผลิตสเกลเล็กที่ชงเบียร์ด้วยแพชชั่นในเครื่องดื่มมีอำพันและความตั้งใจ เนื่องจากโรงเบียร์เหล่านี้ไม่ใช่อุตสาหกรรมสเกลใหญ่มาก ผู้ผลิตจึงมีอิสระที่จะทดลองหรือปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตมากกว่าโรงเบียร์แบรนด์ดังอย่างช้าง สิงห์ หรือไฮเนเก้น ซึ่งอิสระในการทดลองตรงนี้ทำให้ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้กรรมวิธีหมักชง เลือกใช้วัตถุดิบท้อง และเลือกผลิตเบียร์รสชาติแปลกใหม่ออกมาชายในท้องตลาดได้

ประเภทของเบียร์ตามวิธีหมัก

ลาเกอร์ (Lager)

เริ่มต้นกันที่เบียร์ที่เราคุ้นชินกันก่อน เบียร์ช้างจากThai Beverage ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเป็นเบียร์ที่หาซื้อได้ง่ายและเป็นเบียร์ที่มีเพียงรสชาติเดียว เบียร์ช้างเป็นเบียร์ประเภทลาเกอร์ ซึ่งมีสีอ่อน มีรสชาติที่เบาและมีความซ่าจากก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์เล็กน้อย ซึ่งเบียร์กระป๋องทั่วไปอย่างลีโอ สิงห์ ไฮเนเก้น และโคโรน่า ก็จัดเป็นเบียร์ประเภทลาเกอร์ที่ดื่มง่าย ถูกปากคนส่วนใหญ่ และมีแอลกอฮอล์อยู่ที่ประมาณ 4-6%

คอเบียร์หลายคนคงคุ้นตากับคำว่า พิลสเนอร์ (Pilsner) เบียร์พิลสเนอร์จัดอยู่ในประเภทของลาเกอร์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก พิสเนอร์มีต้นกำเนิดจากเมือง Pilsen ณ สาธารณรัฐเช็ก เนื้อเบียร์มีสีทองใส มีรสชาติที่เบาและให้ความสดชื่นมากกว่าลาเกอร์ชนิดอื่นเพราะความหอมและเปอร์เช็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูง

เอล (Ale)

เอลกับลาเกอร์ต่างกันที่วิธีการผลิต เอลจะถูกในอุณหภูมิที่สูงกว่า ใช้เวลาหมักน้อยกว่า และมีความหลากหลายทางของรสชาติ สี และกลิ่นที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเอล โดยเอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของคอคราฟเบียร์คงจะเป็น ไอพีเอ (IPA หรือ India Pale Ale)

ไอพีเอ ขึ้นชื่อเรื่องความขมและความหอมของดอกฮ็อพ (Hops) ชื่อ India Pale Ale เกิดมาจากการยุคสมัยที่อินเดียยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ การขนส่งเอลข้ามทวีปจากยุโรปไปเอเชียในช่วงนั้นใช้เวลานานทำให้เอลขึ้นราและดื่มไม่ได้ แต่แล้วคนหมักเบียร์ก็ค้นพบว่าหากเอลมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นมาอีกหน่อย เอลจะเก็บได้นานขึ้น จึงเพิ่มปริมาณดอกฮ็อพเข้าไป และเกิดเป็นเบียร์ประเภท IPA ขึ้นมา ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว IPA ในท้องตลาดในปัจจุบันจะมีแอลกอฮอล์อยู่ที่ 5.5-7.5% และมีรสชาติหลากหลายให้เลือกดื่มเช่น Coffee-infused IPA ที่มีรสกาแฟ หรือ Fruity IPA ที่มีกลิ่นและความหวานของผลไม้

เอลอีกประเภทที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ ไวเซ่นเบียร์ (Weizenbier) เช่น เบียร์หมีที่หาซื้อได้ใน 7-11 เบียร์ชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากเยอรมันแคว้นบาวาเรีย Weizen แปลว่า Wheat หรือ ข้าวสาลี ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักและเป็นสิ่งที่ทำให้บอดี้ของเบียร์มีความขุ่นและแน่นกว่าไอพีเอเล็กน้อย ไวเซ่นเบียร์จะมีปริมาณก๊าซที่สูงทำให้เบียร์มีความซ่าและให้ความสดชื่น

คำว่า Weizenbier มีความคล้ายกับคำว่า Witbier ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับนักดื่มหลาย ๆ ท่าน อันที่จริงแล้ว Witbier เป็นเบียร์ที่ได้จากข้าวสาลีเหมือนไวเซ่น แต่เป็นเบียร์ที่มีต้นกำเนิดและวิธีหมักแบบเบลเยียม ซึ่งโปรไฟล์ของรสชาติก็จะต่างกับไวเซ่น

แลมบิก (Lambic)

แลมบิกเป็นที่เรียกกันว่า เบียร์เปรี้ยว เพราะขั้นตอนการหมักแบบดั้งเดิมของประเทศเบลเยียม เบียร์แลมบิกมีการบ่มที่คล้ายการบ่มไวน์ และใช้ยีสต์สายพันธุ์พิเศษที่ได้จากแหล่งป่าตามธรรมชาติ เบียร์แลมบิกค่อนข้างจะหาดื่มได้ค่อนข้างยากหน่อย และเบียร์แลมบิกที่แท้จริงจะต้องมีตรา Méthode Traditionnelle อยู่ที่ขวดเพื่อเป็นการรับรองเบียร์ขวดนี้ถูกหมักด้วยวิธีแบบดั่งเดิมจริง ๆ

เบียร์ดำ-คราฟเบียร์สีเข้ม

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า หลายคนอาจจะติดภาพจำว่าที่เบียร์คราฟต้องเป็นเบียร์สีเข้ม หรือ เบียร์ดำเท่านั้น ซึ่ง “Dark beer” ก็เป็นที่นิยมของนักดื่มที่ชอบความบอดี้ที่แน่นและรสชาติที่นุ่มลึก ที่มาพร้อมกับเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ตั้งแต่ 5-10% หรือสูงกว่า เบียร์ดำที่คนไทยอาจจะรู้จักกันดีคงจะเป็น เบียร์ลาวซึ่งจัดเป็นดาร์กลาเกอร์ (Dark lager) และ Guinness สเต้าท์ (Stout) จากไอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเอล เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สเต้าท์จะมีความหลากหลายรสชาติมากกว่าดาร์กลาเกอร์เพราะวิธีการหมักแบบเอลและโปรไฟล์รสชาติที่แน่นแต่นุ่มของตัวเบียร์ทำให้สามารถเพิ่มลูกเล่นและส่วนผสมได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น Milk Stout ซึ่งเป็นสเต้าท์ที่ได้จากการหมักนม และ Coffee stout ที่มีส่วนผสมของกาแฟ

เบียร์ดำอีกชนิดที่ต้องพูดถึงก็คือพอร์ตเตอร์ (Porter) ซึ่งมีเป็นเอลที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ มีสีเข้มขุ่ม มีบอดี้ที่หนาแน่นและอวลไปด้วยกลิ่นและรสชาติของมอลต์ที่ถูกนำไปคั่ว มอลต์เหล่านี้เมื่อถูกคั่วจนไหม้จะให้กลิ่นคล้ายกลิ่นกาแฟผสมกับช็อคโกแลตซึ่งเป็นจุดเด่นของเบียร์พอร์เตอร์

เชฟต้น
สอนการทำอาหารไทยสไตล์โมเดิร์น

เรียนรู้เทคนิคการทำอาหารไทย จากเชฟระดับมิชลิน
เชฟต้น-ธิติฏฐ์กับมุมมองต่ออาหารไทยที่แตกต่างไปจากเดิม | IkonClass

บทส่งท้าย

เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คนเข้าใจและรู้เรื่องเบียร์ ๆ ขึ้นมาไม่มากก็น้อย และหวังว่าความรู้ตรงนี้จะมีประโยชน์กับการสั่งเบียร์ครั้งต่อไปของคุณ ไม่ว่าคุณจะชอบดื่มเบียร์แบบไหน อย่าลืมดื่มอย่างมีสติและรู้ลิมิตของตัวเอง IkonClass สนับสนุนให้คุณใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ และหากคุณอยากจะเต็มที่ในการพัฒนาตัวเอง ลองสมัครคลาสเรียนออนไลน์ที่ไม่เหมือนใครกับเราได้เลย!

บทความล่าสุด

บทเรียนของเรา